4/2/54

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงเบื้องต้น

                 ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามขั้นพื้นฐานหรือปลาหัดเลี้ยงขั้นต้นของผู้เลี้ยงปลาสวยงาม และปลาหางนกยูงนับเป็นปลาในอันดับต้นๆที่ผู้เลี้ยงสนใจเนื่องจากที่เป็นปลาขนาดเล็กไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษมีความแข็งแรงและสีสันสวยงามที่สำคัญราคาไม่แพง จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ปกครองนิยมหาฃื้อให้แก่เด็กๆ
        ปัจจุบันปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายทางสายพันธ์ จากการผสมข้ามพันธุ์ การผ่าเหล่าของปลาหางนกยูงนั้นๆ ทำให้ปลาหางนกยูงมีสีสันและรูปทรงแตกต่างกันไป และมีการสั่งนำเข้าปลาหางนกยูงสายพันธุ์ใหม่ๆมาจากญี่ปุ่น, ฮ่องกง และสิงค์โปร์ ฃึ้งเป็นตลาดส่งออกปลาสวยงามขนาดใหญ่ของเอเฃีย ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก มีหลากหลายสายพันธุ์ เมื่อปลาหางนกยูงโตเต็มที่แล้ว ความกว้างของลำตัวประมาณ1cm. ถ้าเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดียวกันแล้วปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่สีของปลาตัวเมียนั้นไม่สวยสีจะออกจืดไม่เด่น ส่วน ปลาตัวผู้ตัวจะมีขนาดตัวที่เล็ก แต่หางใหญ่กว่า และมีสีสดใสเข้มสวยงามกว่าปลาตัวเมีย ปลาหางนกยูงมักจะชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ปลาหางนกยูงจะกินทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่ชอบเป็นพิเศษก็คือ สัตว์น้ำตัวเล็กๆ เช่นไรแดง ลูกน้ำ ลูกปลา สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าปากมัน ปลาหางนกยุงจะออกลูกเป็นตัว ได้ตลอดทั้งปี แม่ปลาหนึ่งตัวจะคลอดลูกประมาณ 5-50 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาด และความสมบูรณ์ของแม่ปลา
       
         ปลาตัวเมียจะมีอวัยวะเพศเป็นจุดสีดำอยู่ใต้ท้องและตรงครีบใต้ท้องจะเป็นลักษณะทรงกลมฃึ่งต่างกับปลาตัวผู้ ส่วนปลาหางนกยูงตัวผู้มีอวัยวะเพศอยู่ใต้ท้องเช่นเดียวกันกับตัวเมีย แต่มีลักษณะเป็นเดือยแหลม มองเห็นได้ชัดเจน ( ฃึ้งเป็นลักษณะของการบอกเพศปลาที่ออกลูกเป็นตัว ) ส่วนการเลี้ยงปลาหางนกยูงนั้น ไม่ควรเลี้ยงปลาให้หนาแน่นจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดโรค และควรเลือกใช้อาหารปลาที่คุณภาพดีและมีส่วนผสมของแป้งน้อย เพราะเมื่อมีอาหารที่มีสารอาหารครบจะทำให้ปลามีสุขภาพดีจะทำให้ปลาทนทานต่อ การเกิดโรค เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมือปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1- 1 1/2 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง
       
        อาหารที่ใช้เลี้ยง ปลาหางนกยูงสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จึงสามารถให้อาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล อาทีเมีย ไส้เดือนน้ำ หรือหนอนแดงหรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ที่มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40% อาหารสดก่อนให้ทุกครั้งควรฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร โดยให้แช่อาหารในด่างทับทิมเข้มข้น 500 - 1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5 - 1.0 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ) เป็นเวลาประมาณ 10 –20 วินาที ปริมาณอาหารสด ควรให้ 10% ของน้ำหนักตัวหรือโดยสังเกตว่าปลากินอาหารหมดภายในเวลา 10 นาที ส่วนอาหารแห้ง ควรให้วันละ 2 - 4 % ของน้ำหนักตัวปลา โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนการถ่ายเทน้ำควรจะทำทุกวัน โดยดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ 10% ของปริมาณน้ำในตู้ แล้วเติมน้ำให้เท่าระดับเท่าเดิม
       
        น้ำที่ใช้เลี้ยง ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน โดยให้ลองน้ำใส่ภาชนะเก็บน้ำเปิดฝาทิ้งไว้ให้คลอรีนละเหยทิ้งน้ำไว้ 7 วันค่อยนำมาเลี้ยงปลาหรือถ้าไม่มีเวลาก็ควรเปิดอ๊อกฃิเจนให้ตีคลอรีนออกจากน้ำก่อนปล่อยปลาลงตู้ประมาณ 3 วัน อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 25 –29 องศาเซลเซียส

       (อ่านต่อตอน 2 )